เนื่องจากว่าวันก่อนเช็คน้ำยาแอร์ดู ตอนเปิดเซอร์วิสวาล์วออกมาเพื่อเช็คแรงดันน้ำยาแอร์ ปรากฏว่าเจ้าวาล์วศรมันค้าง ทำให้น้ำยาแอร์พุ่งออกมาไม่หยุด จึงต้องถ่ายน้ำยาแอร์ออกเพื่อเปลี่ยนเจ้าวาล์วศรตัวนี้

IMG_3159

พอเปลี่ยนเสร็จแล้ว ก็ต้องเติมน้ำยาแอร์กลับเข้าไปในระบบใหม่ วิธีการก็ไม่ได้ยากเย็นเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าอุปกรณ์ต้องครบ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเติมน้ำยาแอร์

  1. น้ำยาแอร์ (ต้องดูด้วยว่าแอร์ตัวนั้นๆ ใช้น้ำยาเบอร์อะไร ต้องเลือกซื้อมาให้ถูกต้อง)
  2. เกจวัดน้ำยา
  3. ปั๊มแวคคั่ม
  4. เครื่องวัดกระแสไฟ

 ขั้นตอนการเติมน้ำยาแอร์เข้าระบบ

เริ่มจากเสียบสายของเกจวัดแรงดันเข้ากับเซอร์วิสวาล์ว

DSC_6282

สายสีเหลืองจากเกจก็ต้องเข้ากับปั้มแวคคั่ม

DSC_6284

แล้วก็เริ่มเปิดปั้มดูดอากาศออกจากระบบให้หมด

DSC_6289

รอประมาณ 30 นาที

DSC_6298

เมื่อแน่ใจว่าไล่อากาศออกจากระบบท่อน้ำยาแอร์หมดแล้ว และระบบท่อน้ำยาไม่รั่ว (ปิดปั้มแล้วทิ้งไว้สักพักดูว่าแรงดันมันนิ่งมั๊ย) ก็ถอดปั้มแวคคั่มออก แล้วต่อถังน้ำยาแอร์เข้าไปแทน

DSC_6300

เมื่อเปิดวาล์วของถังน้ำยาแล้ว อย่าเพิ่งเติมเข้าระบบท่อน้ำยา ให้ทำการไล่อากาศที่ค้างอยู่ในสายออกก่อน ใช้น้ำยาแอร์ในถังไล่อากาศที่ติดค้างอยู่ในสายกลางของมาตรวัดแรงดันสารทำความเย็น โดยคลายปลายสายเล็กน้อย และปล่อยให้น้ำยาจากในท่อไล่อากาศออกไป แล้วใส่สายที่คลายออกให้แน่นตามเดิม

DSC_6301

จากนั้นก็เปิดวาล์วปล่อยน้ำยาแอร์เข้าระบบไปให้ได้ประมาณ 120 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

DSC_6303

พอเสร็จแล้วก็เปิดแอร์ รอให้ชุดคอนเดนซิ่งหรือคอลย์ร้อนทำงาน แรงดันก็จะตกวูบลงไปเลย

DSC_6307

ก็ให้เติมน้ำยาแอร์เข้าไปเรื่อย ให้ได้อยู่ในช่วง 60-75 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และต้องดูข้อมูลของแอร์เครื่องนั้นๆด้วย ว่ากระแสไฟฟ้าควรมีค่าใกล้กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบุไว้ที่ชุดคอนเดนซิ่ง เมื่อความดันและกระแสได้ค่าตามที่ระบุไว้แล้วแสดงว่าน้ำยาแอร์ที่เติมมี ปริมาณพอเพียงแล้ว

DSC_6308

กระแสที่วัดได้ตอนนี้มีแค่ 7.45 A ยังห่างไกลจากที่ระบุไว้ที่ตัวเครื่อง 14.40 A อีกเยอะนัก ก็เติมน้ำยาแอร์เข้าไปเรื่อยๆ

DSC_6309

สำหรับแอร์เครื่องนี้เติมน้ำยาเข้าไป 70 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว กระแสก็ขึ้นไป 14.31 A เกือบถึงค่าที่ระบุเอาไว้แล้ว (14.40A) แอร์ที่เปิดไว้ก็เย็นฉ่ำแล้ว ก็เลยพอแค่นี้ แล้วก็เดินเครื่องทิ้งไว้อีกสักพัก เพื่อดูว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่

DSC_6328

DSC_6327

พอเสร็จแล้วก็ปิดฝาครอบเซอร์วิสวาล์ว แล้วก็เอาน้ำผสมน้ำยาล้างจานมาเช็คดูว่ามีอาการรั่วซึมหรือไม่

DSC_6331

DSC_6333

DSC_6334

 เมื่อทุกอย่างดูเรียบร้อยดี ก็เก็บของ เก็บอุปกรณ์ แล้วเข้าไปตากแอร์เย็นๆได้แล้วคร้าบ ^_^

By Solar

6 thoughts on “DIY – วิธีการเติมน้ำยาแอร์บ้าน”
  1. ขอขอบคุณที่กรุณาเผยแพร่รายละเอืยดพร้อมๆกับรูปภาพประกอบเป็นวิทยาทาน…

  2. เติมน้ำยาเสรจ ถ้ามันรั่วที่เขมศร ทำไงครับ

  3. เยี่ยมครับ …ลองทำตาม …แอร์เย็นฉ่ำ…ขอบคุณ อย่างสูง

    หมายเหตุ …ช่างแอร์ ไม่ค่อยว่าง คิวแน่น เลยจำเป็น ต้องลองดูเอง

  4. ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆครับ

Comments are closed.